วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่3


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   20  พฤศจิกายน  2556      ครั้งที่ 3
เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.    เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


จุดม่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น การรู้จักศัพท์
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น  การบวก  ลบ
-เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการการหาคำตอบ
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ

-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การสังเกต  (Observation)
-การใช้ประสาทสัมผัสรวมกันในการเรียนรู้
-เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

การจำแนกประเภท (Classifying)
-การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเหตุการณ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขั้น
-เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

การเปรียบเทียบ (Comparing)
-เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของ วัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
-เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพา ของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

การจัดลำดับ (Ordering)
-เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
-การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

การวัด (Measuremwnt)
-มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
-การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย  ได้แก่  อุณหภูมิ  เวลา  ระยะทาง  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ

การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช่ หน่วยมาตรฐานในการวัดการวัดของเด็กปฐมวัยเปรียบเทียบ โดยการเอาสิ่งของต่างๆ มาต่อกัน  เช่น  ไม้บรรทัด  ดินสอ  การก้าวขา การกางแขนของเด็ก  เป็นต้น

ภาพประกอบเด็กจะคิดว่า ผู้ชายคนนี้สูงเท่า ตุ๊กตา 3 ตัว หรือเท่ากับ ไม้บรรทัด 2 อัน เพราะเด็กใช้การเปรียบเทียบ


การนับ (Counting)
-เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
-การนับแบบท่องจำนี้ จะมีความหมายต่อเมื่อ  เชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

รูปทรงและขนาด (Shar  and  size)
-เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน

คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
       ตัวเลข -  น้อย  มาก  น้อยกว่า  มากกว่า  ไม่มี  ทั้งหมด
      ขนาด-  ใหญ่     ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย
      รูปร่าง-  สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม
      ที่ตั้ง-  บน  ต่ำ  ขวา  สูงที่สุด  ยอด  ก่อน  ระยะทาง
      ค่าของเงิน-  สลึง  ห้าสิบสตางค์  หนึ่งบาท  ห้าบาท
      ความเร็ว-   เร็ว   ช้า   เดิน   วิ่ง   คลาน
      อุณหภูมิ-  เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด

พอสอนในเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษษดู             VDO เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์สอนเด็กเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  โดยการ
-                  บูรณาการในการสอนคณิตศาสตร์ในการเล่น สอนคณิตศาสตร์ไปกับการเล่น
-                  ในแต่ละกิจกรรมที่สอนเด็กจะต้องได้ทักษะมากกว่า 1 อย่าง เช่น รูปทรง การนับ การเรียงลำดับเป็นต้น
ท้ายคาบอาจารย์ก็ให้นักศึกษาลองนึกว่าแต่ละวันที่เรามาโรงเรียนนั้เราผ่านอะไรมาบ้าง อาจารย์ให้ยกตัวอย่างสถานที่ 3 อย่างของหนูก็จะผ่าน เซเว่น ร้านขายข้าวแกง  และ หอส้มตำ  และวาดภาพได้ออกมาดังนี้... ไปดูกันเลย




ความรู้ที่ไดัรับในการเรียนครั้งนี้

1. ได้รับความรู้เกี่ยกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่สอดแทรกไปกับการเล่นที่หลากหลายเทคนิค
2.ได้รับความรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ซึ่งได้แก่ การสังเกต
การจำแนกประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ การวัด  การนับ  และรูปทรงและขนาด



  สำหรับวันนี้... ขอบคุณค่ะ  โอกาสหน้าพบกันไหม..^^




วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 13  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

ความรู้ที่ได้ในการเรียนครั้งนี้ 

    อาจารย์มอบหมายงานให้ทำงานกลุ่มโดยให้หัวข้อดังนี้
-                     จำนวนและการดำเนินการ
-                     การวัด
-                    เรขาคณิต
-                    พีชคณิต
-                    การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  กลุ่มของหนูได้หัวข้อ   เรขาคณิต ค่ะ


 คณิตสำหรับเด็กปฐมวัย

          ความหมายของคำว่าคณิตศาสตร์    
ระบบการคิดของมนุษย์เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญญาลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข การคิดคำนวณ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับ จำนวน การวัด เรขาคณิต พีชคณิต หรือแบบรูปความสัมพันธ์ การคิดวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ มีเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์ 
            ความสำคัญของคณิตศาสตร์
เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
เครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูลวางแผนงานและประเมินผล
เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของPiaget
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensorimotro  stage)แรกเกิดถึง 2 ปี
เด็กรู้จักประสาทสัมผัสต่างๆ
สามารถจดจำสิ่งต่างๆบอกคุณลักษณะของวัตถุได้
ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล(Preoperational Stage) อยู่ในช่วงอายุ 2-7 ปี
-  ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
-  เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนักรูปทรงและความยาว
เล่นบทบาทสมมติซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น
            เช่น จำนวนตัวเลข  ตัวอักษร  คำที่มีความหมาย...

  เด็กจะในความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
  เด็กจะไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลไป

เช่นเด็กเห็นภาพด้านล่างนี้เด็กก็จะคิดว่า วงกลมสีแดงมีมากกว่า วงกลมสีดำ เพราะว่าเด็กไม่สามารถคงความคิดสภาพเดิมไว้ได้แม้ว่าวงกลมทั้งสองนี้จะมีจำนวนที่เท่ากันก็ตาม ยกให้เห็นดังภาพข้างล่าง




การอนุรักษ์ (conservation)

เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
-            โดยการนับ
-            การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
-            การเปรียบเทียบรูปทรงปริมาณ
-            เรียงลำดับ
-            จัดกลุ่ม

หลักการจักประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรจัดอย่างไร
-  เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
-  ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฎิบัติ
-  ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
-  ใช้คำถามปลายเปิด
เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

     พอสอนในเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ให้คิดว่าเราจะวาดภาพหนึ่งภาพแล้วให้เราคิดว่าสัตว์ตัวนั้นต้องมีขาเยะที่สุดซึ่งหนูก็ได้วาดปู  มาดูปูของหนูเลยออกมาแบบนี้  สวยงามมาก อิอิ



พออาจารย์ให้วาดเสร็จเรียบร้อยก็ให้นักศึกษาออกมาเอากระดาษกลุ่มละ 1 แผ่น ซึ่งเราไม่รู้ว่าอาจารย์จะให้ทำอะไร  ปรากฎว่าอาจารย์ให้ทำร้องเท้าให้สัตว์ที่ตนเองวาด  ฮ่า....มาก ณ ตอนนั้นเพื่อนที่วาดรูปสัตว์ที่มีขาเยอะๆก็ต้องทำรองเท้าให้ครบจำนวนเท้า  แต่ปูของหนูก็ได้ใส่รองเท้าสุดสวยดังภาพ  มีใครสงสัยไหมว่า  นี่รองเท้า หรือ  นวมชักมวย 5555+++  ไปดูกันเลย


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

  1.ไดัรับความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นความหมาย      ความสำคัญ ของคณิตศาสตร์
  2.ได้รับความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ  Piaget
  3.ได้ความสนุกสนานในการเรียนมีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนเด็ก ปฐมวัยให้สนุกในการเรียนและเกิกประโยชน์สูงสุด
  

จบแล้วค่ะสำหรับวันนี้  บ๊าย  บาย ....

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 1


บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วันพุธที่ 6  พฤศจิกายน พ.ศ  2556
เวลาเข้าสอน08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


      วันนี้เป็นวันแรกในการเรียนการสอน  อาจารย์ก็บอกแนวการสอน ข้อตกลงต่างๆและพูดถึงการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์อย่างคราวๆให้ฟัง และก็ให้นักศึกษาทำ Mind mapping  ที่เราเข้าใจเกี่ยวกับวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กตามความคิดของเราว่าเราเข้าใจความหมายเกี่ยวกับวิชานี้อย่างไรเพื่อจะดูว่านักศึกษาเข้าใจมากน้อยแค่ไหน และก็พูดถึงการทำบล็อกคราวๆให้ฟัีง

นี่ก็คือภาพ  Mind  mapping  ของหนูเองค่ะ









สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้

   1.ได้ให้นักศึกษาได้ออกแบบ Mind mapping  ตามความคิดของตนเองได้อย่างเต็มที่
   2.ได้ทราบว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจมากน้อยแค่ไหนเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
   3.ได้ทราบความหมายที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิชานี้และการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับเด็ก


ขอนคุณครับ...^^