วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่3


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   20  พฤศจิกายน  2556      ครั้งที่ 3
เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.    เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


จุดม่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น การรู้จักศัพท์
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น  การบวก  ลบ
-เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการการหาคำตอบ
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ

-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การสังเกต  (Observation)
-การใช้ประสาทสัมผัสรวมกันในการเรียนรู้
-เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

การจำแนกประเภท (Classifying)
-การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเหตุการณ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขั้น
-เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

การเปรียบเทียบ (Comparing)
-เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของ วัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
-เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพา ของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

การจัดลำดับ (Ordering)
-เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
-การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

การวัด (Measuremwnt)
-มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
-การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย  ได้แก่  อุณหภูมิ  เวลา  ระยะทาง  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ

การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช่ หน่วยมาตรฐานในการวัดการวัดของเด็กปฐมวัยเปรียบเทียบ โดยการเอาสิ่งของต่างๆ มาต่อกัน  เช่น  ไม้บรรทัด  ดินสอ  การก้าวขา การกางแขนของเด็ก  เป็นต้น

ภาพประกอบเด็กจะคิดว่า ผู้ชายคนนี้สูงเท่า ตุ๊กตา 3 ตัว หรือเท่ากับ ไม้บรรทัด 2 อัน เพราะเด็กใช้การเปรียบเทียบ


การนับ (Counting)
-เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
-การนับแบบท่องจำนี้ จะมีความหมายต่อเมื่อ  เชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

รูปทรงและขนาด (Shar  and  size)
-เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน

คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
       ตัวเลข -  น้อย  มาก  น้อยกว่า  มากกว่า  ไม่มี  ทั้งหมด
      ขนาด-  ใหญ่     ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย
      รูปร่าง-  สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม
      ที่ตั้ง-  บน  ต่ำ  ขวา  สูงที่สุด  ยอด  ก่อน  ระยะทาง
      ค่าของเงิน-  สลึง  ห้าสิบสตางค์  หนึ่งบาท  ห้าบาท
      ความเร็ว-   เร็ว   ช้า   เดิน   วิ่ง   คลาน
      อุณหภูมิ-  เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด

พอสอนในเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษษดู             VDO เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์สอนเด็กเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  โดยการ
-                  บูรณาการในการสอนคณิตศาสตร์ในการเล่น สอนคณิตศาสตร์ไปกับการเล่น
-                  ในแต่ละกิจกรรมที่สอนเด็กจะต้องได้ทักษะมากกว่า 1 อย่าง เช่น รูปทรง การนับ การเรียงลำดับเป็นต้น
ท้ายคาบอาจารย์ก็ให้นักศึกษาลองนึกว่าแต่ละวันที่เรามาโรงเรียนนั้เราผ่านอะไรมาบ้าง อาจารย์ให้ยกตัวอย่างสถานที่ 3 อย่างของหนูก็จะผ่าน เซเว่น ร้านขายข้าวแกง  และ หอส้มตำ  และวาดภาพได้ออกมาดังนี้... ไปดูกันเลย




ความรู้ที่ไดัรับในการเรียนครั้งนี้

1. ได้รับความรู้เกี่ยกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่สอดแทรกไปกับการเล่นที่หลากหลายเทคนิค
2.ได้รับความรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ซึ่งได้แก่ การสังเกต
การจำแนกประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ การวัด  การนับ  และรูปทรงและขนาด



  สำหรับวันนี้... ขอบคุณค่ะ  โอกาสหน้าพบกันไหม..^^




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น