วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 13  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

ความรู้ที่ได้ในการเรียนครั้งนี้ 

    อาจารย์มอบหมายงานให้ทำงานกลุ่มโดยให้หัวข้อดังนี้
-                     จำนวนและการดำเนินการ
-                     การวัด
-                    เรขาคณิต
-                    พีชคณิต
-                    การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  กลุ่มของหนูได้หัวข้อ   เรขาคณิต ค่ะ


 คณิตสำหรับเด็กปฐมวัย

          ความหมายของคำว่าคณิตศาสตร์    
ระบบการคิดของมนุษย์เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญญาลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข การคิดคำนวณ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับ จำนวน การวัด เรขาคณิต พีชคณิต หรือแบบรูปความสัมพันธ์ การคิดวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ มีเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์ 
            ความสำคัญของคณิตศาสตร์
เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
เครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูลวางแผนงานและประเมินผล
เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของPiaget
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensorimotro  stage)แรกเกิดถึง 2 ปี
เด็กรู้จักประสาทสัมผัสต่างๆ
สามารถจดจำสิ่งต่างๆบอกคุณลักษณะของวัตถุได้
ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล(Preoperational Stage) อยู่ในช่วงอายุ 2-7 ปี
-  ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
-  เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนักรูปทรงและความยาว
เล่นบทบาทสมมติซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น
            เช่น จำนวนตัวเลข  ตัวอักษร  คำที่มีความหมาย...

  เด็กจะในความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
  เด็กจะไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลไป

เช่นเด็กเห็นภาพด้านล่างนี้เด็กก็จะคิดว่า วงกลมสีแดงมีมากกว่า วงกลมสีดำ เพราะว่าเด็กไม่สามารถคงความคิดสภาพเดิมไว้ได้แม้ว่าวงกลมทั้งสองนี้จะมีจำนวนที่เท่ากันก็ตาม ยกให้เห็นดังภาพข้างล่าง




การอนุรักษ์ (conservation)

เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
-            โดยการนับ
-            การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
-            การเปรียบเทียบรูปทรงปริมาณ
-            เรียงลำดับ
-            จัดกลุ่ม

หลักการจักประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรจัดอย่างไร
-  เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
-  ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฎิบัติ
-  ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
-  ใช้คำถามปลายเปิด
เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

     พอสอนในเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ให้คิดว่าเราจะวาดภาพหนึ่งภาพแล้วให้เราคิดว่าสัตว์ตัวนั้นต้องมีขาเยะที่สุดซึ่งหนูก็ได้วาดปู  มาดูปูของหนูเลยออกมาแบบนี้  สวยงามมาก อิอิ



พออาจารย์ให้วาดเสร็จเรียบร้อยก็ให้นักศึกษาออกมาเอากระดาษกลุ่มละ 1 แผ่น ซึ่งเราไม่รู้ว่าอาจารย์จะให้ทำอะไร  ปรากฎว่าอาจารย์ให้ทำร้องเท้าให้สัตว์ที่ตนเองวาด  ฮ่า....มาก ณ ตอนนั้นเพื่อนที่วาดรูปสัตว์ที่มีขาเยอะๆก็ต้องทำรองเท้าให้ครบจำนวนเท้า  แต่ปูของหนูก็ได้ใส่รองเท้าสุดสวยดังภาพ  มีใครสงสัยไหมว่า  นี่รองเท้า หรือ  นวมชักมวย 5555+++  ไปดูกันเลย


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

  1.ไดัรับความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นความหมาย      ความสำคัญ ของคณิตศาสตร์
  2.ได้รับความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ  Piaget
  3.ได้ความสนุกสนานในการเรียนมีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนเด็ก ปฐมวัยให้สนุกในการเรียนและเกิกประโยชน์สูงสุด
  

จบแล้วค่ะสำหรับวันนี้  บ๊าย  บาย ....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น