วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทิน  ครั้งที่ 11

วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น

วัน / เดือน / ปี 12 กุมภาพันธ์ 2557 ครั้งที่  11
เวลาเรียน 08:00น. - 12:20น.


             วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์ที่ทำเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีการทำสื่อออกมาได้ดีมาก ไอเดียแต่ละกลุ่มสุดยอดที่สุด รวมถึงกลุ่มหนูด้วย 555  กลุ่มหนูทำสื่อชื่อ นาฬิกาหรรษา  น่ารักมากเลย นาฬิกาตัวนี้สอนคณิตศาสตร์เด็กได้มากมายเลย ไม่ว่าจะเป็นการนับจำนวน รูปทรง พีชคณิต การจำแนกสิ่งต่างๆ และสอนเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก นี่ก้อคือหน้าตาสื่อของหนู นาฬิกาหรรษา ไปดูกันเลย…



นาฬิกาหรรษา






วิธีการเล่น

1.   ให้เด็กได้รู้จักกับนาฬิกาก่อนว่านาฬิกามีลักษณะอย่างไร
2.   ครูถอดชิ้นส่วนที่เป็นตัวเลขของนาฬิกาออก
3.   ห้เด็กประกอบชิ้นส่วนของนาฬิกาให้ถูกต้องตามตัวเลขและรูปทรง
4.   ให้เด็กเลือกภาพที่มีความสัมพันธ์กับเวลาแล้วนำไปเสียบด้านบนที่เป็นวงกลม ข้างซ้ายมือเป็นพระจันหรือพระอาทิตย์ส่วนข้างขวามือเป็นภาพการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก 

สื่อที่หนูชอบมากที่สุดในการนำเสนอของเพื่อนก็คือ 






สื่อชิ้นนี้  การต่อจิกชอว์ ซึ้งที่เพื่อนทำออกมาได้สวยงาม และรูปทรงต่งๆก้อนำเสนอออกมาได้ดี หนูชอบสื่อชิ้นนี้มากค่ะและหนูคิดว่าปิดเทอม 6 เดือนนี้หนูจะทำสื่อสะสมไว้เยอะๆเลย รวมถึงสื่อชิ้นที่หนูชอบชิ้นนี้ด้วยค่ะ


ความรู้ที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้

1.         ได้เห็นเพื่อนออกแบบสื่อทางคณิตศาสตร์มากมายเราสามารถนำความรู้ที่ได้นำไปปรับใช้ในการเป็นครูในภายภาคหน้าในการทำสื่อการสอนทางคณิตสาสตร์ที่หลากหลายให้กับเด็กได้
2.         การทำสื่อให้น่าสนใจของแต่ละกลุ่ม การสอนที่สอดแทรกทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น การนับจำนวน รูปทรง  พีชคณิต และการสอนอื่นๆอีกมากมายค่ะ








วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557




บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10



บันทึกอนุทิน

 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  29 มกราคม 2557 ครั้งที่ 10
เวลาเข้าสอน 08:00น. เวลาเรียน 08:30น. เวลาเลิกเรียน 12:20 น.



              กิจกรรมสำหรับวันนี้ครูให้แบ่งกลุ่มเขียนแผนเกียวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ กลุ่มของหนูก็ได้คิดกิจกรรมเขียนแผนสำหรับ อนุบาล 1 คือการนับจำนวนลูกบอลของเด็กโดยบูรณาการผ่านการเล่นกิจกรรมกลางแจ้ง ส่วนอนุบาล2 ทำแผนเกียวกับรูปทรงให้เด็กจับคู่เกียวกับรูปทรงโดยครูและเด็กทำกิจกรรมร่วมกัน อนุบาล 3 ทำเป็นการเปรียบเทียบน้ำหนัก ซึ้งวัตถุจะเบาหรือหนักนั้นย่อมขึ้นอยู่กับขนาด เล็กใหญ่ของวัตุด้วย .......



ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในครั้งนี้


      การเรียนวันนี้ทุกเพื่อนทุกคนต่างก็มีความตั้งใจในการเรียนมาก เพราะการเขียนแผนสำหรับครูปฐมวัยแล้วเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แผนคณิตศาสคร์เขียนยากมากเลยนะ แต่ว่ากลุ่มเราก็สามารถทำเสร็จ การเขียนแผนถือเป็นกำไรในอนาคตฝึกให้เราเขียนแผนเก่งขึ้น เพิ่มพูนความรู้เกียวกับการสอนเด็กได้เยอะทีเดียววันนี้สนุกมากๆค่ะ  ^ - ^

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557




บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9


บัีนทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วัน/เดือน /ปี  22 มกราคม 2557  ครั้งที่ 9
เวลาเข้าสอน 08:00น. เวลาเรียน 08:30น. เวลาเลิกเรียน12:20 น.



             สำหรับการทำกิจกรรมในวันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมทั้งหมด 2 กิจกรรมด้วยกันคือการสร้างสรรค์รูปทรงต่างๆตามจินตนาการของกลุ่ม และงานชิ้นที่ 2 อาจารย์ให้ทำการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ ซึ่งเพื่อนทุกคนก็ตั้งใจทำกันมากเลย ผลงานของกลุ่มหนูทำไปทำมาออกมาเป็น บอลลูนสัตว์ สวยงามมากที่เดียว ไปดูกันเลย




    กลุ่มของเราทำเป็นบอลลูนสัตว์ออกมาน่ารักด้วยความร่วมมือร่วมใจกัน กลุ่มของเพื่อนที่ทำก็มีการจิตนาการความคิดที่แตกต่างกันไปสวยงามกันทุกกลุ่มเลย ส่วนของกลุ่มเพื่อนๆผลงานจะออกมาเป็อย่างไรนั่นไปดูเลยค่ะ












      สำหรับงานชิ้นนนี้สิ่งที่ต้องการจะสื่ออกมาทางคณิตศาสตร์ก็คือเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียงลำดับ การจำแนกสี  การนับ ขนาดของสิ่งต่างๆ ได้ในเรื่องของพีชคณิตและสอดแทรกความรู้มากมายในการทำกิจกรรม

 กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้ทำเป็นกลุ่มใหญ่เพียง 3 กลุ่มให้ทีทำการเปรียบเทียบสิ่งต่าง ๆ ไปดุกันว่าผลงานออกมาของแต่ละกลุ่มจะเป็นอย่างไร...




อันนี้เป็นของกลุ่มหนูเองได้รับมอบหมาให้ทำเกี่ยวกับการเปรียบทียบสิ่งของที่อยู่ในห้องนอนและห้องครัวให้ครูถามเด็กว่า เด็กๆรูไหมว่าในห้องนอนของเรานั่นมีอะไรบ้างและอยู่ในห้องไหนจะมีรูปภาพมาให้เด็กดูและให้เด็กบอกว่าสิ่งนี้คืออะไรและจัดให้อยู่ในหมวดห้องนอนหรือห้องครัวซึ่งเป็นการฝึกให้เด็กได้คิดตามและสนุกกับกิจกรรม



ส่วนกลุ่มที่ 2 ทำการเปรียบเทียบระหว่าวัวกับแมวว่าสัตว์ 2 ตัวนี้มีอะไรบ้างที่ต่างกัน และมีอะไรที่เหมือนกัน

ส่วนกลุ่มที่ 3 ทำแบบสอบถามว่าสัตว์ตัวไหนที่เด็กชอบก็จะกำหนดสัตว์ขึ้นมาแล้วถามเด็กว่าเด็กชอบสัตว์ตัไหนมากที่สุดและชอบสัตว์ตัวไหนน้อยที่สุดใและให้เด็กเอากระดาษไปติดและครูก็เขียนชื่อเด็กลงไป

     สำหรับการเรียนครั้งนี้ได้ประสบการณืมากมายที่จะนำไปสอนเด็กบูรณาการทางคณิตศาสตร์ได้อย่างหลากหลายรูปแบบเพื่อจะไม่ไห้เด็กเกิดความเครียดและสนุกสนานในการเรียนรู้การเรียนครั้งนี้สนุกมากๆค่ะ.....






วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557


บันทักการเรียนการสอนครั้งที่ 8



บันทึกอนุทิน 

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  15  มกราคม 2557  ครั้งที่ 8
เวลาเข้าสอน  08:00 น. เวลาเรียน 08:30น.เวลาเลิกเรียน 12:20น.



          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำงานร่วมกันคือทำนิทานเล่มใหญ่ ซึ่งอาจารย์จะให้นักศึกษาทุกคนแต่งนิทานร่วมกัน โดยอาจารย์จะเป้นคนเริ่มต้นนิทานให้  อาจารย์เริ่มต้นให้ว่า กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม
ซึ่งต่อไปอาจารย์ก็ให้นักศึกษาเป็นคนแต่ง แต่งกันไปกันมาเนื้อเรื่องก็ออกมาเป็นดังนี้...

นิทานเรื่องลูกหมีเก็บฟืน

           กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลังหลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมและหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมในบ้านแต่ละหลังจะมีลูกหมูอาศัยอยู่หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า หมูที่อาศัยอยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปทำงานซึ่งไกลมาก หมูที่อยู่บ้านหลังสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมเดินไปเก็บฟืนในป่า ซึ่งในป่ามีฟืนเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยกันเก็บฟื้น หมูทั้ง 6 ตัว ช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้ 10 ท่อน แล้วหมูก็นำฟืน 3 ท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าวหมูเลยเหลือฟื้นทั้งหมด 7 ท่อนแล้วหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือไว้ใช้ในวันต่อไป

         นี่ก็คือนิทานที่เราช่วยกันแต่งและอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุมทำงานโดยแบ่งว่าใครกลุ่มไหนได้อะไรกันบ้างเพื่อความยุติธรรมก็ต้องมีการจับฉลากกันค่ะ ทุกกลุ่มลุุ้นกันมากเลยทีเดียว สำหรับกลุ่มหนุได้เริ่มเรื่องเลยค่ะไปดูกันเลยว่าหน้าตาจะออกมาเป็นยังไง...^^

  


 นี่ก็คือผลงานของกลุ่มเราทุกคนช่วยกันทำมากๆ เลยค่ะ


พอทุกกลุุ่มทำเสร็จอาจารย์ก็ให้ออกไปเล่านิทานพร้อมภาพหน้าห้องค่ะประชันความสวยงาม555..และผลที่ได้ผลงานของห้องเราออกมาเป็นแบบนี้












นี่ก็เป็นผลงานของพวกเราที่ช่วยกันทำงาน จนงานออกมาสวยงามแบบนี้... ต้องยกนิ้วให้จริงๆ
     
    สิ่งที่เราทำกิจกรรมกันในวันนี้เป็น กิจกรรมที่ดีมากเพราะฝึกให้เด็กรู้จัการทำงานร่วมกันทั้งห้อง มีความสามัคคีมีความช่วยเหลือซึ่งกันและกัยหนูอยากให้จัดกิจกรรมที่ให้เพื่อนทุกคนมีส่วนร่วมในการทำ วันนี้สนุกมากค่ะในการเรียน.....




วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557




บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7



                                              บันทึกอนุทิน
              วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


           อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น

          วัน/เดือน/ปี    8 มกราคม  2557    ครั้งที่ 7
          เวลาเรียน 08.30  น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

     การเรียนการสอนในวันนี้ เริ่มการเรียนก็ทุกคนดูหน้าตาสดใสดีแต่วันนี้รู้สึกว่าเพื่อนจะมาสายกันเยอะเลยไม่ได้ปล้ำกระดาษสะสมกัน แต่ว่าทุกคนก็ตั้งใจเรียนวันนี้อาจารย์ก็มีความสุขยิ้มแย้มกับนักศึกษา อาจารย์สอนถึงเรื่องกรอบมาตฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

                  กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย 

       เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
   -  สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ
   - สาระที่ 2  การวัด
   - สาระที่ 3  เรขาคณิต
   - สาระที่ 4 พีชคณิต
   - สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
   - สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย 

1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical thinking )
-จำนวนนับ1 ถึง20
-เข้าใจหลักการนับ
-รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-รู้ค่าจำนวนนับ
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม

2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร  เงิน เวลา
-เปรียบเทียบ  เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักเงินเหรียญบาทและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา  เช่น วันนี้ ตอนนี้ เมื่อวาน ตอนสายๆ เป็นต้น

3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป ของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่ายเด็กจะทำได้ตั้งแต่อนุบาล3 ขึ้นไป

6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

                                 
   สาระมาตรฐานและการเรียนรู้


  สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

    -มาตรฐาน ค.ป1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนจริง

        จำนวน

การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
การอ่านเลขอารบิก เลขไทย และการเขียน
การเปรียบเทียบจำนวน
การเรียงลำดับจำนวน

     การรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
- ความหมายการรวม
รวมสิ่งต่างๆที่มีผลรวมไม่เกิน10
ความหมายการแยก และ การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ ไม่เกิน10

                                      สาระที่  2  การวัด

  -มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

   ความยาว  น้ำหนักและ ปริมาตร 

-การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
-การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง

     เงิน 
-ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร

    เวลา
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับฉัน

สาระที่  3  เรขาคณิต

 -มาตรฐาน ค.ป.3.1  รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
 -มาตรฐาน ค.ป.3.2  รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

  ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง

-การบอก ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง ของสิ่งต่างๆ เช่น ไกล ใกล้  ซ้าย ขวา   เป็นต้น

  รูปเรขาคณิต สามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ

-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย  ทรงกระบอก
-วงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
-การสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิต
-การเปลี่ยนแปลงรูปเรขา

สาระที่  4  พีชคณิต

-มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

  แบบรูปและความสัมพันธ์

-แบบรูปของรูปที่มี  รูปร่าง ขนาดที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง


สาระที่  5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

-มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ


สาระที่  6 ทักษะ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

   การแก้ปัญหา  การใช่เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ กับศาสตร์อื่นๆ และมี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  


      พออาจารย์สอนในเนื้อหาเสร็จแล้วก็ให้ทำกิจกรรมตอนท้ายเริ่มแรกอาจารย์ก็แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น แล้วให้นักศึกษาเลือกว่าจะเอารูปทรงไหน มี ทรงกลม สี่เหลี่ยม และ สามเหลี่ยม โดยไม่บอกว่าจะให้ทำอะไรทุกคนก็ตื่นเต้นมากในการเลือกทายใจอาจารย์เพราะแต่ละคาบอาจารย์จะมีอะไรมาให้ทำตลอด.. หนูก็ได้เลือกรูปสี่เหลี่ยมอาจารย์ก็ให้เลือกกระดาษสีเพื่อตัดตามรูปทรงที่เลือกเอามาเปะลงบนกระดาษ และอาจารย์ก็ใหนักศึกษาจิตนาการว่าจะทำยังไงที่จะให้ที่นักศึกษาเลือกนั้นกลายเป็นสัตว์อะไรก็ได้ หนูก็เลือกวาดเป็นปลา น่ารักมาก อาจารย์สอนให้เด็กมีจิตนาการตามความคิดจริงๆ....            
   

น้องปลาของหนูมีตาหน้าแบบนี้ น่ารักมากๆ









สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้

1. ได้เรียนรู้ในทางทฤษฏีในการเรียนเรื่องกรอบมาตฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
     ในเรื่องทางด้านต่างๆ ทั้ง 5 สาระการเรียนรู้
2.ได้ความคิดสร้างสรรค์ในการคิดทำผลงานตามความคิดของนักศึกษา
3.นำไปประยุกต์ในการเรียนหรือการสอนเด็กในอนาคต
4.เด็กจะมีความสนุกสนานในการเรียนลดความเครียดด้วยการผ่อนคลายซึ่งเป็นสิ่งที่ดีท้ายคราบ


สำหรับวันนี้ขอคุณค่ะ    ***  จารุวรรณ  ปัตตัง  ***


     


วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6




บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  วันพุธ ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556



หมายเหตุ :วันนนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการจัดกิจกรรมกีฬา                   สีของคณะศึกษาศาสตร์










          วันนี้เป็นวันที่สนุกมากได้ร่วมแข่งเชียร์ทุกคนเต็มที่มากกับการทำกิจกรรม ในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เราสามารถนำสิ่งที่ได้นำมาประยุกต์หรือบูรณาการในการสอนเด็กเรื่องคณิตศาสตร์ได้อย่างมากมายตามความเหมาะสม ...........










วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556



บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 4  ธันวาคม พ.ศ.2556
เวลาเข้าสอน 08.30น.เวลาเข้าเรีน 08.30น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.



          สำหรับการเรียนการสอนครั้งนี้อาจารย์ให้นำเสนองานที่ได้รับมอบหมายใหม่ทุกกลุ่มดดยให้แต่ละกลุ่มออกมาทำกิจกรรม หาเกมหรือการจัดประสบการณ์ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย......


กลุ่มแรกคือกลุ่มพีชคณิต




กลุ่มนี้เขจะให้เด็กดูภาพและให้เด็กเชื่อมโยงความคิดให้ได้ว่าช่องว่าง หรือที่วาง ควรจะเป็นคำตอบข้อไหนโดยเขาจะมีตัวเลือกแค่เพียง 2 ข้อ เพื่อจะให้ไม่ยากจนเกินไปเด็กจะได้คิด  เพื่ิอส่งเสริมทางความคิดของเด็กอีกด้วย


กลุ่มที่ 2 ความน่าจะเป็น




กลุ่มนี้เขาจะมีเกมมาให้เล่นอยู่ 3 เกมคือ การสุ่มหยิบลูกปิงปอง การโยนเหรียญ หัว ก้อย การสุ่มหยิลสีโดยจะยกตัวอย่างการสุ่มและหยิบให้ดูประกอบด้วย
หนูจะยกตัวอย่างการสอนความน่าจะเป็นสำหรับเด็กนะค่ะก็คือ มีกล่องเปล่า อยู่ 1 ใบเราก้อต้องทำให้เด็กเห็นจริง และหยิบลูกปิงปองมาเพียง 2ลูก เพื่อที่เด็กจะได้เข้าใจในความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นว่าถ้าครูเอาลูกปิงปอง 2ลูก สีขาวกับสีน้ำเงิน ลงไปในกล่องใบนี้แล้วเด็กๆคิดว่า ถ้าครูหยิบลูกปิงปองขึ้นมานั้นจะได้ลูกปิงปองสีไหน ระหว่าง สีขาวกับน้ำเงิน เด็กบางคนคนก็จะตอบ ขาว บางคนตอบน้ำเงิน นี่แหละคือคำตอบ เราก็จะต้องอธิบายให้เด็กเข้าใจว่า ความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้ลูกปิงปองมีอยู่ 2 คำตอบคือ
1. หยิบได้ลูกปิงปองสีขาว คำตอบที่ 2คือ หยิบได้ลูกปิงปองสีนำ้เงิน  ^^







กลุ่มที่ 3 การวัด



กลุ่มนี้จะมีการนำเสนอยกตัวอย่างและเปรียบเทียบรูปภาพต่างๆให้เห็น กลุ่มนี้จะเปรียบเทียบเกี่ยวกับความยาว  การเรียงลำดับเล็ก ใหญ่ การวัดปริมาณน้ำในแก้ว

การวัดความยาวของ  ปลา  หนอน  ยีราฟ ตามภาพทืี่เพื่อนนำมานำเสนอจะเห็นว่าการเรียงลำดับความยาวจะเป็นดังนี้ ต่ำ - สูง 



การเรียงลำดับเล็กใหญ่ ของมังคุด ว่าลูกไหนมีขนาดเล็ก ใหญ่โดยจะมีภาพที่1 เป็นมังคุดลูกใหญ่ ภาพที่ 2 เป็นมังคุดลูกเล็ก ให้เด็กเรียงลำดับจากเล็กไปใหญ่ก็จะได้  ภาพ2 ภาพ 1 ตามลำดับ


การวัดปริมาณน้ำในแก้ว ว่า แก้วไหนมีน้อ ไปหามากก็จะได้ดังนี้ ภาพที่ 2 3 และ 1 ตามลำดับ


การวัดความสูงของดินสอ จะให้เด็กเรียงภาพจากใหญ่มาเล็ก



กลุ่มที่ 4 จำนวนและการดำเนินการ



กลุ่มนี้เขาจะมีการนำเข้าสู่กิจกรรมโดยการให้เพื่อนๆมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม มีการร้องเพลง ออกกำลังกายเพื่อเป็นการเก็บเด็กให้สนใจในกิจกรรม เขาให้เด็กได้ตอบว่าเขาจะมีมีหัวสัตว์ต่างๆและให้เด็กเอาไปใส่ตามตัวว่ามันเป็นหัวขอองสัตว์อะไร 

กลุ่มที่ 5 รูปทรงเรขาคณิต

กลุ่นี้เป็นกิจกรรมของกลุ่มหนูเองค่ะ เราก็ได้นำเสนอรูปทรงต่างๆ ให้เพื่อนๆได้ดูว่าแต่ละรูปทรงนี้นมีลักษณะอย่างไร และมีอะไรที่คล้ายรูปทรงนั้นๆบ้าง เช่น วงกลม ก็สิ่งที่คล้ายก็คือ นาฬิกา เป็นต้น แต่ว่าเราต้องถามเด็กๆว่าเด็กๆคิดว่ามีอะไรบ้างนะที่เด็กๆคิดว่ามีรูปทรงเป็นวงกลมเพื่ิอฝึกให้เด็กได้คิดตาม
และกลุ่เราก็จะมีเกมต่อจิ๊กซอ รูปทรงต่างๆมาให้ดูอีกมากมายค่ะ

               
     
        


ท้ายคาบอาจารย์ก็แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น  และให้เราวาดลงกลม1 วงและให้ เขียนตัวเลขที่ชอบที่สุดลงไป 1ตัว ดดยไม่บอกว่าจะให้ทำอะไร และที่เชอไพร์ก็คือ อาจารย์ให้ทำดอกไม้ให้มีกลีบเท่าทีตัวเองเขียนลงไปในลงกลม บางคน เขียนเลข  1  ฮ่า..มากดอกไม้อะไรมี 1 กลีบ แต่ของหนู ทำดอกไม้ 8 กลีบออกมาสวยงาม ดังภาพ 5555

       




ประโยชน์ที่ได้รับในวันนี้ 

1. ได้นำการจัดประสบการณ์การนำเสนอหรือการสอนเด็กในเรื่องต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการสอนในอนาคต
2.ได้รูว่าการจะสอนแต่ละเรื่องต้องมรการเตรียมหรือหากิจกรรมอะไรเพื่อจะให้เด็กเข้าใจและสนุกกับการทำกิจกรรม
3.ได้รู้ถึงการจัดประสบการณ์ทางคณิตอย่างมากค่ะไม่ว่า จขะเป็น พีชคณิต  ความน่าจะเป็น เรขาคณิต การวัด และจำนวนและการดำเนินการ   





                                                                  ^^ ขอบคุณค่ะ  ^^