วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6




บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  วันพุธ ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556



หมายเหตุ :วันนนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการจัดกิจกรรมกีฬา                   สีของคณะศึกษาศาสตร์










          วันนี้เป็นวันที่สนุกมากได้ร่วมแข่งเชียร์ทุกคนเต็มที่มากกับการทำกิจกรรม ในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เราสามารถนำสิ่งที่ได้นำมาประยุกต์หรือบูรณาการในการสอนเด็กเรื่องคณิตศาสตร์ได้อย่างมากมายตามความเหมาะสม ...........










วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556



บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 4  ธันวาคม พ.ศ.2556
เวลาเข้าสอน 08.30น.เวลาเข้าเรีน 08.30น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.



          สำหรับการเรียนการสอนครั้งนี้อาจารย์ให้นำเสนองานที่ได้รับมอบหมายใหม่ทุกกลุ่มดดยให้แต่ละกลุ่มออกมาทำกิจกรรม หาเกมหรือการจัดประสบการณ์ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย......


กลุ่มแรกคือกลุ่มพีชคณิต




กลุ่มนี้เขจะให้เด็กดูภาพและให้เด็กเชื่อมโยงความคิดให้ได้ว่าช่องว่าง หรือที่วาง ควรจะเป็นคำตอบข้อไหนโดยเขาจะมีตัวเลือกแค่เพียง 2 ข้อ เพื่อจะให้ไม่ยากจนเกินไปเด็กจะได้คิด  เพื่ิอส่งเสริมทางความคิดของเด็กอีกด้วย


กลุ่มที่ 2 ความน่าจะเป็น




กลุ่มนี้เขาจะมีเกมมาให้เล่นอยู่ 3 เกมคือ การสุ่มหยิบลูกปิงปอง การโยนเหรียญ หัว ก้อย การสุ่มหยิลสีโดยจะยกตัวอย่างการสุ่มและหยิบให้ดูประกอบด้วย
หนูจะยกตัวอย่างการสอนความน่าจะเป็นสำหรับเด็กนะค่ะก็คือ มีกล่องเปล่า อยู่ 1 ใบเราก้อต้องทำให้เด็กเห็นจริง และหยิบลูกปิงปองมาเพียง 2ลูก เพื่อที่เด็กจะได้เข้าใจในความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นว่าถ้าครูเอาลูกปิงปอง 2ลูก สีขาวกับสีน้ำเงิน ลงไปในกล่องใบนี้แล้วเด็กๆคิดว่า ถ้าครูหยิบลูกปิงปองขึ้นมานั้นจะได้ลูกปิงปองสีไหน ระหว่าง สีขาวกับน้ำเงิน เด็กบางคนคนก็จะตอบ ขาว บางคนตอบน้ำเงิน นี่แหละคือคำตอบ เราก็จะต้องอธิบายให้เด็กเข้าใจว่า ความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้ลูกปิงปองมีอยู่ 2 คำตอบคือ
1. หยิบได้ลูกปิงปองสีขาว คำตอบที่ 2คือ หยิบได้ลูกปิงปองสีนำ้เงิน  ^^







กลุ่มที่ 3 การวัด



กลุ่มนี้จะมีการนำเสนอยกตัวอย่างและเปรียบเทียบรูปภาพต่างๆให้เห็น กลุ่มนี้จะเปรียบเทียบเกี่ยวกับความยาว  การเรียงลำดับเล็ก ใหญ่ การวัดปริมาณน้ำในแก้ว

การวัดความยาวของ  ปลา  หนอน  ยีราฟ ตามภาพทืี่เพื่อนนำมานำเสนอจะเห็นว่าการเรียงลำดับความยาวจะเป็นดังนี้ ต่ำ - สูง 



การเรียงลำดับเล็กใหญ่ ของมังคุด ว่าลูกไหนมีขนาดเล็ก ใหญ่โดยจะมีภาพที่1 เป็นมังคุดลูกใหญ่ ภาพที่ 2 เป็นมังคุดลูกเล็ก ให้เด็กเรียงลำดับจากเล็กไปใหญ่ก็จะได้  ภาพ2 ภาพ 1 ตามลำดับ


การวัดปริมาณน้ำในแก้ว ว่า แก้วไหนมีน้อ ไปหามากก็จะได้ดังนี้ ภาพที่ 2 3 และ 1 ตามลำดับ


การวัดความสูงของดินสอ จะให้เด็กเรียงภาพจากใหญ่มาเล็ก



กลุ่มที่ 4 จำนวนและการดำเนินการ



กลุ่มนี้เขาจะมีการนำเข้าสู่กิจกรรมโดยการให้เพื่อนๆมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม มีการร้องเพลง ออกกำลังกายเพื่อเป็นการเก็บเด็กให้สนใจในกิจกรรม เขาให้เด็กได้ตอบว่าเขาจะมีมีหัวสัตว์ต่างๆและให้เด็กเอาไปใส่ตามตัวว่ามันเป็นหัวขอองสัตว์อะไร 

กลุ่มที่ 5 รูปทรงเรขาคณิต

กลุ่นี้เป็นกิจกรรมของกลุ่มหนูเองค่ะ เราก็ได้นำเสนอรูปทรงต่างๆ ให้เพื่อนๆได้ดูว่าแต่ละรูปทรงนี้นมีลักษณะอย่างไร และมีอะไรที่คล้ายรูปทรงนั้นๆบ้าง เช่น วงกลม ก็สิ่งที่คล้ายก็คือ นาฬิกา เป็นต้น แต่ว่าเราต้องถามเด็กๆว่าเด็กๆคิดว่ามีอะไรบ้างนะที่เด็กๆคิดว่ามีรูปทรงเป็นวงกลมเพื่ิอฝึกให้เด็กได้คิดตาม
และกลุ่เราก็จะมีเกมต่อจิ๊กซอ รูปทรงต่างๆมาให้ดูอีกมากมายค่ะ

               
     
        


ท้ายคาบอาจารย์ก็แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น  และให้เราวาดลงกลม1 วงและให้ เขียนตัวเลขที่ชอบที่สุดลงไป 1ตัว ดดยไม่บอกว่าจะให้ทำอะไร และที่เชอไพร์ก็คือ อาจารย์ให้ทำดอกไม้ให้มีกลีบเท่าทีตัวเองเขียนลงไปในลงกลม บางคน เขียนเลข  1  ฮ่า..มากดอกไม้อะไรมี 1 กลีบ แต่ของหนู ทำดอกไม้ 8 กลีบออกมาสวยงาม ดังภาพ 5555

       




ประโยชน์ที่ได้รับในวันนี้ 

1. ได้นำการจัดประสบการณ์การนำเสนอหรือการสอนเด็กในเรื่องต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการสอนในอนาคต
2.ได้รูว่าการจะสอนแต่ละเรื่องต้องมรการเตรียมหรือหากิจกรรมอะไรเพื่อจะให้เด็กเข้าใจและสนุกกับการทำกิจกรรม
3.ได้รู้ถึงการจัดประสบการณ์ทางคณิตอย่างมากค่ะไม่ว่า จขะเป็น พีชคณิต  ความน่าจะเป็น เรขาคณิต การวัด และจำนวนและการดำเนินการ   





                                                                  ^^ ขอบคุณค่ะ  ^^

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่4


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   20  พฤศจิกายน  2556      ครั้งที่ 3
เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.    เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานหน้าชั้นเรียนโดยให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้  จำนวนและการดำเนินการ  การวัด  เรขาคณิต พีชคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

    กลุ่มแรกจำนวนและการดำเนินการ




จำนวน    หมายถึง  วัตถุนามธรรมที่ใช้สำหรับอธิบาย ปริมาณ  หมวด   แผนก
การดำเนินการ  หมายถึง  การกระทำลงมือ จัดการปฏิบัติการ  หมู่  ทำให้เป็นไป ปฏิบัติหนาที่ดำเนินการ
จำนวนและการดำเนินการ หมายถึง การรวมและการแยกกลุ่มเข้าใจ ถึงความหลากหลายของารแสดง   จำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

สาระการเรียนรู้     จำนวนและการดำเนินการ

-การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
 -การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก  และตัวเลขไทย 
-  การเขียนตัวเลขฮินดู  อารบิก แสดงจำนวน
 -  การเปรียบเทียบจำนวน
-  การเรียงลำดับจำนวนการรวมและการแยกกลุ่ม
-  การรวมสิ่งต่าง ๆ  สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10 
-  การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

กลุ่มที่ 2 การวัด




 การวัด  หมายถึง  ความสามารถในการเลือกการ ใช้เครื่องมือต่างๆ  เพื่อหาคำถามเกี่ยวกับ  เวลา  ระยะทาง น้ำหนัก ความยาว ปริมาตร และอุณหภูมิ 
 น้ำหนัก  หมายถึง  การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสิ่งต่างๆ เช่นถ้าขนาดของวัตถุมีขนาดใหญ่นำ้หนักจะมีมากกว่าวัตตุที่มีขนาดเล็ก

              ตัวอย่างการเปรียบเทียบ  เช่น ช้างกับแมวเป็นวัตถุ ช้างมีขนาดใหญ่กว่าแมว ช้างจึงมีน้ำหนักมากกว่าแมว



กลุ่มที่  3  เรขาคณิต


               รุปทรงเรขาคณิตสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้หลากหลาย ให้เด็กได้ดูรูปทรงต่างๆว่าคล้ายอะไร สามเหลี่ยมคล้ายอะไร สี่เหลี่ยมเหมือนสัตว์ชนิดไหน  แล้วแต่เด็กจะจิตนาการตามความคิดของเขา อาจจะสร้างสรรค์มาเป็นบ้านก็ได้   ดังภาพ,....



รูปทรงเรขาคณิต

รูปเรขาคณิตสองมิติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะของขอบหรือด้านของรูป ได้แก่ กลุ่มที่มีขอบหรือด้านของรูปเป็นส่วนของเส้นตรง กลุ่มนี้คือ รูปหลายเหลี่ยม ( polygon ) และกลุ่มที่มีขอบหรือด้านเป็นเส้นโค้งงอ เช่น รูปวงกลม และรูปวงรี เป็นต้น กลุ่มนี้ไม่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ


กลุ่มที่ 4 พีชคณิต


                   พีชคณิต คือ  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์  การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย

                  แบบรูป หรือ บางครั้งเรียกว่า อนุกรมคือชุดของตัวเลขหรือรูปภาพที่มี ความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือ ขนาด  ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนดในแต่ละแบบรูปเราก็จะสามารถบอกคาดเดา หรือ คาดการณ์ได้ว่าสิ่งของต่างๆรูปเรขาคณิต  รูปอื่นๆหรือจำนวนที่หายไป คืออะไร


กลุ่มที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  
 -เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
-ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล
-ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
     
             ความน่าจะเป็น  หมายถึง ค่าของโอกาส หรือความเป็นไปได้ ซึ่่งสามารถวัดค่าได้เป็นตัวเลข   ( 0 ถึง 1 )   ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 1 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นมาก 
ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 0 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นน้อยมาก 
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เป็นดัชนีวัดขนาดการเกิดของเหตุการณ์ ซึ่งสามารถจะนำไป
ประยุกต์ใช้ตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สภาวะการณ์ไม่แน่นอน 







จากภาพจะเห็นว่ามีเสื้อสีแดง 1 ตัว กางเกง 3 ตัว สีส้ม สีฟ้า สีม่วง ความน่าจะเป็น ที่เสื้อ จะคู่กับกางเกงตัวที่  1 2 3 มี  3  ชุดดังภาพ  ค่ะ



ประโยชน์ที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้


1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น จำนวนและการดำเนินการ การวัด  เรขาคณิต  พีชคณิต  และการวิเคราะหืข้อมูลและความน่าจะเป็น  ได้นำแนวการสอนหรือเทคนิคต่างๆในการนำเสนอไปปรับใช้ในอนาคต
2. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดประสบการณ์ทางคณิตสาสตร์ให้เด็กได้รับความรู้ ความสนุกสนาน ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี


  



         

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่3


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   20  พฤศจิกายน  2556      ครั้งที่ 3
เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.    เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


จุดม่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น การรู้จักศัพท์
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น  การบวก  ลบ
-เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการการหาคำตอบ
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ

-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การสังเกต  (Observation)
-การใช้ประสาทสัมผัสรวมกันในการเรียนรู้
-เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

การจำแนกประเภท (Classifying)
-การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเหตุการณ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขั้น
-เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

การเปรียบเทียบ (Comparing)
-เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของ วัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
-เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพา ของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

การจัดลำดับ (Ordering)
-เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
-การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

การวัด (Measuremwnt)
-มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
-การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย  ได้แก่  อุณหภูมิ  เวลา  ระยะทาง  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ

การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช่ หน่วยมาตรฐานในการวัดการวัดของเด็กปฐมวัยเปรียบเทียบ โดยการเอาสิ่งของต่างๆ มาต่อกัน  เช่น  ไม้บรรทัด  ดินสอ  การก้าวขา การกางแขนของเด็ก  เป็นต้น

ภาพประกอบเด็กจะคิดว่า ผู้ชายคนนี้สูงเท่า ตุ๊กตา 3 ตัว หรือเท่ากับ ไม้บรรทัด 2 อัน เพราะเด็กใช้การเปรียบเทียบ


การนับ (Counting)
-เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
-การนับแบบท่องจำนี้ จะมีความหมายต่อเมื่อ  เชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

รูปทรงและขนาด (Shar  and  size)
-เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน

คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
       ตัวเลข -  น้อย  มาก  น้อยกว่า  มากกว่า  ไม่มี  ทั้งหมด
      ขนาด-  ใหญ่     ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย
      รูปร่าง-  สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม
      ที่ตั้ง-  บน  ต่ำ  ขวา  สูงที่สุด  ยอด  ก่อน  ระยะทาง
      ค่าของเงิน-  สลึง  ห้าสิบสตางค์  หนึ่งบาท  ห้าบาท
      ความเร็ว-   เร็ว   ช้า   เดิน   วิ่ง   คลาน
      อุณหภูมิ-  เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด

พอสอนในเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษษดู             VDO เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์สอนเด็กเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  โดยการ
-                  บูรณาการในการสอนคณิตศาสตร์ในการเล่น สอนคณิตศาสตร์ไปกับการเล่น
-                  ในแต่ละกิจกรรมที่สอนเด็กจะต้องได้ทักษะมากกว่า 1 อย่าง เช่น รูปทรง การนับ การเรียงลำดับเป็นต้น
ท้ายคาบอาจารย์ก็ให้นักศึกษาลองนึกว่าแต่ละวันที่เรามาโรงเรียนนั้เราผ่านอะไรมาบ้าง อาจารย์ให้ยกตัวอย่างสถานที่ 3 อย่างของหนูก็จะผ่าน เซเว่น ร้านขายข้าวแกง  และ หอส้มตำ  และวาดภาพได้ออกมาดังนี้... ไปดูกันเลย




ความรู้ที่ไดัรับในการเรียนครั้งนี้

1. ได้รับความรู้เกี่ยกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่สอดแทรกไปกับการเล่นที่หลากหลายเทคนิค
2.ได้รับความรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ซึ่งได้แก่ การสังเกต
การจำแนกประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ การวัด  การนับ  และรูปทรงและขนาด



  สำหรับวันนี้... ขอบคุณค่ะ  โอกาสหน้าพบกันไหม..^^




วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 13  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

ความรู้ที่ได้ในการเรียนครั้งนี้ 

    อาจารย์มอบหมายงานให้ทำงานกลุ่มโดยให้หัวข้อดังนี้
-                     จำนวนและการดำเนินการ
-                     การวัด
-                    เรขาคณิต
-                    พีชคณิต
-                    การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  กลุ่มของหนูได้หัวข้อ   เรขาคณิต ค่ะ


 คณิตสำหรับเด็กปฐมวัย

          ความหมายของคำว่าคณิตศาสตร์    
ระบบการคิดของมนุษย์เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญญาลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข การคิดคำนวณ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับ จำนวน การวัด เรขาคณิต พีชคณิต หรือแบบรูปความสัมพันธ์ การคิดวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ มีเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์ 
            ความสำคัญของคณิตศาสตร์
เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
เครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูลวางแผนงานและประเมินผล
เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของPiaget
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensorimotro  stage)แรกเกิดถึง 2 ปี
เด็กรู้จักประสาทสัมผัสต่างๆ
สามารถจดจำสิ่งต่างๆบอกคุณลักษณะของวัตถุได้
ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล(Preoperational Stage) อยู่ในช่วงอายุ 2-7 ปี
-  ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
-  เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนักรูปทรงและความยาว
เล่นบทบาทสมมติซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น
            เช่น จำนวนตัวเลข  ตัวอักษร  คำที่มีความหมาย...

  เด็กจะในความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
  เด็กจะไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลไป

เช่นเด็กเห็นภาพด้านล่างนี้เด็กก็จะคิดว่า วงกลมสีแดงมีมากกว่า วงกลมสีดำ เพราะว่าเด็กไม่สามารถคงความคิดสภาพเดิมไว้ได้แม้ว่าวงกลมทั้งสองนี้จะมีจำนวนที่เท่ากันก็ตาม ยกให้เห็นดังภาพข้างล่าง




การอนุรักษ์ (conservation)

เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
-            โดยการนับ
-            การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
-            การเปรียบเทียบรูปทรงปริมาณ
-            เรียงลำดับ
-            จัดกลุ่ม

หลักการจักประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรจัดอย่างไร
-  เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
-  ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฎิบัติ
-  ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
-  ใช้คำถามปลายเปิด
เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

     พอสอนในเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ให้คิดว่าเราจะวาดภาพหนึ่งภาพแล้วให้เราคิดว่าสัตว์ตัวนั้นต้องมีขาเยะที่สุดซึ่งหนูก็ได้วาดปู  มาดูปูของหนูเลยออกมาแบบนี้  สวยงามมาก อิอิ



พออาจารย์ให้วาดเสร็จเรียบร้อยก็ให้นักศึกษาออกมาเอากระดาษกลุ่มละ 1 แผ่น ซึ่งเราไม่รู้ว่าอาจารย์จะให้ทำอะไร  ปรากฎว่าอาจารย์ให้ทำร้องเท้าให้สัตว์ที่ตนเองวาด  ฮ่า....มาก ณ ตอนนั้นเพื่อนที่วาดรูปสัตว์ที่มีขาเยอะๆก็ต้องทำรองเท้าให้ครบจำนวนเท้า  แต่ปูของหนูก็ได้ใส่รองเท้าสุดสวยดังภาพ  มีใครสงสัยไหมว่า  นี่รองเท้า หรือ  นวมชักมวย 5555+++  ไปดูกันเลย


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

  1.ไดัรับความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นความหมาย      ความสำคัญ ของคณิตศาสตร์
  2.ได้รับความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ  Piaget
  3.ได้ความสนุกสนานในการเรียนมีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนเด็ก ปฐมวัยให้สนุกในการเรียนและเกิกประโยชน์สูงสุด
  

จบแล้วค่ะสำหรับวันนี้  บ๊าย  บาย ....