วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่4


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   20  พฤศจิกายน  2556      ครั้งที่ 3
เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.    เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานหน้าชั้นเรียนโดยให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้  จำนวนและการดำเนินการ  การวัด  เรขาคณิต พีชคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

    กลุ่มแรกจำนวนและการดำเนินการ




จำนวน    หมายถึง  วัตถุนามธรรมที่ใช้สำหรับอธิบาย ปริมาณ  หมวด   แผนก
การดำเนินการ  หมายถึง  การกระทำลงมือ จัดการปฏิบัติการ  หมู่  ทำให้เป็นไป ปฏิบัติหนาที่ดำเนินการ
จำนวนและการดำเนินการ หมายถึง การรวมและการแยกกลุ่มเข้าใจ ถึงความหลากหลายของารแสดง   จำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

สาระการเรียนรู้     จำนวนและการดำเนินการ

-การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
 -การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก  และตัวเลขไทย 
-  การเขียนตัวเลขฮินดู  อารบิก แสดงจำนวน
 -  การเปรียบเทียบจำนวน
-  การเรียงลำดับจำนวนการรวมและการแยกกลุ่ม
-  การรวมสิ่งต่าง ๆ  สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10 
-  การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

กลุ่มที่ 2 การวัด




 การวัด  หมายถึง  ความสามารถในการเลือกการ ใช้เครื่องมือต่างๆ  เพื่อหาคำถามเกี่ยวกับ  เวลา  ระยะทาง น้ำหนัก ความยาว ปริมาตร และอุณหภูมิ 
 น้ำหนัก  หมายถึง  การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสิ่งต่างๆ เช่นถ้าขนาดของวัตถุมีขนาดใหญ่นำ้หนักจะมีมากกว่าวัตตุที่มีขนาดเล็ก

              ตัวอย่างการเปรียบเทียบ  เช่น ช้างกับแมวเป็นวัตถุ ช้างมีขนาดใหญ่กว่าแมว ช้างจึงมีน้ำหนักมากกว่าแมว



กลุ่มที่  3  เรขาคณิต


               รุปทรงเรขาคณิตสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้หลากหลาย ให้เด็กได้ดูรูปทรงต่างๆว่าคล้ายอะไร สามเหลี่ยมคล้ายอะไร สี่เหลี่ยมเหมือนสัตว์ชนิดไหน  แล้วแต่เด็กจะจิตนาการตามความคิดของเขา อาจจะสร้างสรรค์มาเป็นบ้านก็ได้   ดังภาพ,....



รูปทรงเรขาคณิต

รูปเรขาคณิตสองมิติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะของขอบหรือด้านของรูป ได้แก่ กลุ่มที่มีขอบหรือด้านของรูปเป็นส่วนของเส้นตรง กลุ่มนี้คือ รูปหลายเหลี่ยม ( polygon ) และกลุ่มที่มีขอบหรือด้านเป็นเส้นโค้งงอ เช่น รูปวงกลม และรูปวงรี เป็นต้น กลุ่มนี้ไม่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ


กลุ่มที่ 4 พีชคณิต


                   พีชคณิต คือ  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์  การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย

                  แบบรูป หรือ บางครั้งเรียกว่า อนุกรมคือชุดของตัวเลขหรือรูปภาพที่มี ความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือ ขนาด  ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนดในแต่ละแบบรูปเราก็จะสามารถบอกคาดเดา หรือ คาดการณ์ได้ว่าสิ่งของต่างๆรูปเรขาคณิต  รูปอื่นๆหรือจำนวนที่หายไป คืออะไร


กลุ่มที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  
 -เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
-ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล
-ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
     
             ความน่าจะเป็น  หมายถึง ค่าของโอกาส หรือความเป็นไปได้ ซึ่่งสามารถวัดค่าได้เป็นตัวเลข   ( 0 ถึง 1 )   ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 1 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นมาก 
ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 0 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นน้อยมาก 
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เป็นดัชนีวัดขนาดการเกิดของเหตุการณ์ ซึ่งสามารถจะนำไป
ประยุกต์ใช้ตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สภาวะการณ์ไม่แน่นอน 







จากภาพจะเห็นว่ามีเสื้อสีแดง 1 ตัว กางเกง 3 ตัว สีส้ม สีฟ้า สีม่วง ความน่าจะเป็น ที่เสื้อ จะคู่กับกางเกงตัวที่  1 2 3 มี  3  ชุดดังภาพ  ค่ะ



ประโยชน์ที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้


1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น จำนวนและการดำเนินการ การวัด  เรขาคณิต  พีชคณิต  และการวิเคราะหืข้อมูลและความน่าจะเป็น  ได้นำแนวการสอนหรือเทคนิคต่างๆในการนำเสนอไปปรับใช้ในอนาคต
2. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดประสบการณ์ทางคณิตสาสตร์ให้เด็กได้รับความรู้ ความสนุกสนาน ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี


  



         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น